top of page

                    สุริยวิถี (Ecliptic) หมายถึงเส้นทางการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้า เกิดจากการที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นรูปวงรี โดยที่แกนของโลกเอียง 23.5° จากแนวตั้งฉากกับระนาบวงโคจร ในฤดูร้อนโลกหันขั้วเหนือเข้าหาดวงอาทิตย์ทาให้ซีกโลกเหนือกลายเป็นฤดูร้อน และซีกโลกใต้กลายเป็นฤดูหนาว หกเดือนต่อมาโลกโคจรไปอยู่อีกด้านหนึ่งของวงโคจร โลกหันขั้วใต้เข้าหาดวงอาทิตย์ (แกนของโลกเอียง 23.5° คงที่ ตลอดปี) ทาให้ซีกโลกใต้กลายเป็นฤดูร้อน และซีกโลกเหนือกลายเป็นฤดูหนาว ดังแสดงในภาพ

 

 

.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

จักราศี

 

                             โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 1 ปี ทาให้ตาแหน่งปรากฏของดวงอาทิตย์ เมื่อเปรียบเทียบกับตาแหน่งของกลุ่มดาวบนท้องฟ้าเปลี่ยนแปลงไป ดังภาพที่ 1 ยกตัวอย่าง ในเดือนมิถุนายน เรามองเห็นดวงอาทิตย์อยู่หน้ากลุ่มดาวคนคู่ (ราศีเมถุน) หนึ่งเดือนต่อมา ดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ในทิศทวนเข็มนาฬิกาไป 30° เราก็จะมองเห็นดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ไปอยู่หน้ากลุ่มดาวปู (ราศีกรกฏ) ซึ่งอยู่ถัดไป 30° เช่นกัน เราเรียกกลุ่มดาวซึ่งบอกตาแหน่งดวงอาทิตย์ในแต่ละเดือนว่า “จักราศี” (Zodiac) ผู้คนในสมัยก่อนใช้กลุ่มดาวจักราศีเป็นปฏิทินในการกาหนดเดือน โดยการเปรียบเทียบตาแหน่งของดวงอาทิตย์กับตาแหน่งของกลุ่มดาวจักราศีบนท้องฟ้า โดยถือเอาเส้นสุริยวิถีเป็นเส้นรอบวง 360° หารด้วยจานวนกลุ่มดาวประจาราศีทั้ง 12 กลุ่ม ซึ่งห่างกันกลุ่มละ 30° (30° x 12 = 360°)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

พิกัดศูนย์สูตร                           

 

                               พิกัดศูนย์สูตร (Equatorial coordinates) เป็นระบบพิกัดซึ่งใช้ในการวัดตาแหน่งของวัตถุท้องฟ้า โดยถือเอาการเคลื่อนที่ของทรงกลมฟ้าเป็นสิ่งอ้างอิง โดยกาหนดจุดและเส้นสมมติในระบบพิกัด ดังนี้

                                จุดขั้วฟ้าเหนือ (North Celestial Pole) เป็นจุดศูนย์กลางการหมุนของทรงกลมฟ้าทางด้านทิศเหนือ (เกิดจากการต่อแกนหมุนของโลกขึ้นไปบนท้องฟ้า)

                                จุดขั้วฟ้าใต้ (South Celestial Pole) เป็นจุดศูนย์กลางการหมุนของทรงกลมฟ้าทางด้านทิศเหนือ (เกิดจากการต่อแกนหมุนของโลกขึ้นไปบนท้องฟ้า)

                                 เส้นศูนย์สูตรฟ้า (Celestial Equatorial) หมายถึงเส้นวงกลมใหญ่บนทรงกลมฟ้า ซึ่งเกิดจากการต่อขยายเส้นศูนย์สูตรโลกขึ้นไปบนฟ้า ดังนั้นระนาบศูนย์สูตรฟ้าจึงตั้งฉากกับแกนหมุนของโลก

                                 เส้นสุริยวิถี (Ecliptic) เป็นเส้นวงกลมใหญ่บนทรงกลมฟ้า ซึ่งเป็นระนาบวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ทั้งนี้ระนาบสุริยวิถีจะเอียงทามุม 23.5° กับระนาบศูนย์สูตร เนื่องจากแกนหมุนของโลกเอียง 23.5° ขณะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์

                                 วสันตวิษุวัต (Vernal equinox) เป็นจุดตัดที่ 1 ของเส้นศูนย์สูตรฟ้ากับเส้นสุริยวิถี

                                  ศารทวิษุวัต (Autumnal equinox) เป็นจุดตัดที่ 2 ของเส้นศูนย์สูตรฟ้ากับเส้นสุริยวิถี

ไรต์แอสเซนชัน (Right Ascension หรือ RA) เป็นเส้นสมมติตามแนวเหนือ-ใต้ บนทรงกลมฟ้า เปรียบเทียบคล้ายกับ เส้นแวง (Longitude) บนทรงกลมโลก เส้นไรต์แอสเซนชัน แบ่งโดยใช้อัตราการหมุนรอบตัวเองของโลก 1 รอบ จึงมีหน่วยเป็นชั่วโมง โดยมีเส้นชั่วโมง 24 เส้น แต่ละเส้นห่างกันเป็นมุม 15° (24 x 15° = 360°) โดยเส้นแรกเริ่มต้นที่จุดวสันตวิษุวัติในกลุ่มดาวปลา เส้นชั่วโมงถัดไปอยู่ห่างไปทางทิศตะวันออก 15° ไรต์แอสเซนชันมีค่าระหว่าง 0 - 24 ชั่วโมง แต่ละชั่วโมง (Hour) มี 60 นาที (Minute) แต่ละนาทีมี 60 วินาที (Second)

                                  เดคคลิเนชัน (Declination หรือ Dec) เป็นเส้นสมมติตามแนวขนานกับเส้นศูนย์สูตรฟ้า คล้ายกับเส้นรุ้ง (Latitude) บนทรงกลมโลก เดคลิเนชันเป็นการวัดระยะห่างเชิงมุมจากเส้นศูนย์สูตรฟ้าไปยังจุดขั้วฟ้าเหนือมีค่า 0 จนถึง +90°ส่วนเดคลิเนชันในการวัดระยะห่างเชิงมุมจากเส้นศูนย์สูตรฟ้าไปยังจุดขั้วฟ้าใต้มีค่า 0° จนถึง -90° แต่ละองศา (Degree) มี 60 อาร์คนาที (Arcminute) แต่ละอารค์นาทีมี 60 อาร์ควินาที (Arcsecond)

                           

Ecliptic < สุริยวิถี >

© 2023 by Astronomy Students. Proudly created with Wix.com

bottom of page