top of page

                    พิกัดขอบฟ้า (Horizontal coordinates) เป็นระบบพิกัดซึ่งใช้ในการวัดตาแหน่งของวัตถุท้องฟ้า โดยถือเอาตัวของผู้สังเกตเป็นศูนย์กลางของทรงกลมฟ้า โดยมีจุดและเส้นสมมติบนทรงกลมฟ้าแสดงดัง 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                             ทิศทั้งสี่ ประกอบด้วย ทิศเหนือ (North) ทิศตะวันออก (Earth) ทิศใต้ (South) ทิศตะวันตก (West) เมื่อหันหน้าเข้าหาทิศเหนือ ด้านหลังเป็นทิศใต้ ซ้ายมือเป็นทิศตะวันตก ขวามือเป็นทิศตะวันออก  

                             จุดเหนือศีรษะ (Zenith) เป็นตาแหน่งสูงสุดของทรงกลมฟ้า ซึ่งอยู่เหนือผู้สังเกต  

                             จุดใต้เท้า (Nadir) เป็นตาแหน่งต่าสุดของทรงกลมฟ้า ซึ่งอยู่ใต้เท้าของผู้สังเกต  

                              เส้นขอบฟ้า (Horizon) หมายถึง แนวเส้นขอบท้องฟ้าซึ่งมองเห็นจรดพื้นราบ หรืออีกนัยหนึ่งคือ เส้นวงกลมใหญ่บนทรงกลมฟ้าที่อยู่ห่างจากจุดเหนือศีรษะ ทามุม 90 องศา กับแกนหลักของระบบขอบฟ้า

                              เส้นเมอริเดียน (Meridian) เป็นเส้นสมมติบนทรงกลมฟ้าในแนวเหนือ-ใต้ ซึ่งลากผ่านจุดเหนือศีรษะ

Horizontal Coordinates < พิกัดขอบฟ้า >

การวัดมุมในระบบพิกัดขอบฟ้าประกอบด้วย มุมทิศ และ มุมเงย 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                             มุมทิศ (Alzimuth) เป็นมุมในแนวราบ ซึ่งวัดจากทิศเหนือ (0 องศา) ไปตามเส้นขอบฟ้าในทิศตามเข็มนาฬิกา ไปยังทิศตะวันออก (90 องศา) ทิศใต้ (180 องศา) ทิศตะวันตก ( 270 องศา ) และกลับมาที่ทิศเหนือ (360 องศา)อีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นมุมทิศจึงมีค่าระหว่าง (0 – 360 องศา)

                             มุมเงย (Altitude) เป็นมุมในแนวดิ่ง ซึ่งนับจากเส้นขอบฟ้า (0 องศา) สูงขึ้นไปจนถึงจุดเหนือศีรษะ (90 องศา) ดังนั้นมุมทิศจึงมีค่าระหว่าง (0–360 องศา ดังนั้นมุมเงยจึงมีค่าระหว่าง (0–90 องศา )

                             

© 2023 by Astronomy Students. Proudly created with Wix.com

bottom of page